ชีวประวัติ ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช

ความเป็น “คึกฤทธิ์”


ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้ที่เกิดและใช้ชีวิตวัยเยาว์ในครอบครัว
ที่มีวิถีชีวิตแบบไทยแท้และได้มีโอกาสสัมผัสวิถีเจ้านายชั้นสูง
ขณะเดียวกันเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นก็ได้ใช้ชีวิตแบบตะวันตกเมื่อไปศึกษา
ที่ประเทศอังกฤษเป็นเวลา ๗ ปี ทำให้มีความเข้าใจในขนบธรรมเนียม
และวิถีชิวิตทั้งในแบบไทยและตะวันตกเป็นอย่างดี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ 
จึงเป็นแบบอย่างของ ความเป็นไทย ที่มีทั้งความประณีต
แบบไทยและมีรสนิยมแบบสากล  






ความเป็น “คึกฤทธิ์”

พระพุทธเจ้า

ปาฐกถาแด่พระภิกษุนักศึกษา
ความเป็นคึกฤทธิ์

"จะทำอย่างไรจึงจะสอนให้คนไทยนี้...
นับถือพระพุทธศาสนาด้วยศรัทธา
ด้วยเหตุผล และด้วยการปฏิบัติ..."

ความเป็นคึกฤทธิ์

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ปาฐกถา
ถวายความเห็นแด่พระภิกษุนักศึกษา
๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๐


"...ศาสนาพุทธนั้นสอนธรรมไว้ ๒ ระดับ คือ โลกุตรธรรม
สำหรับคนที่อยากพ้นจากโลก อยากอยู่เหนือความทุกข์ทั้งปวง อันเป็นทุกข์แห่งโลก
และ โลกียธรรม สำหรับคนที่อยากอยู่ในโลก ยอมรับว่าจะมีความทุกข์แห่งโลกต่อไป
แต่ก็สอนให้อยู่ได้ด้วยความสุข สงบ และสันติ ทั้งๆ ที่มีทุกข์
คือเป็นการคลายทุกข์ลงมา ซึ่งเรียกว่า โลกียธรรม..."





ความเป็นคึกฤทธิ์

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช บรรยายเรื่อง พระพุทธศาสนา แก่นักศึกษาชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในลักษณะวิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย ปีการศึกษา ๒๕๑๖

ความเป็นคึกฤทธิ์

พระพุทธเจ้าตรัสสั่งสอนให้คนตั้งอยู่ในความไม่ประมาทเพราะฉะนั้น
พุทธมามกะก็คือคนที่หวังผลเลิศ
ทุกประการแต่เตรียมพร้อมที่จะรับผลร้ายที่สุดทุกประการ

ความเป็นคึกฤทธิ์

นิพพานโลกุตร์ล้น โลกีย์
สุขมนุษย์สุดจักมี เปรียบได้
สุขซึ่งเหตุอันบี ฑาสุข
เกิดแก่ตายเจ็บไซร้ สุขล้น เพราะสูญ


ความเป็นคึกฤทธิ์

หนังสือพิมพ์ สยามรัฐ
๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔

"พระปัญญาบารมีของพระเจ้าอยู่หัวคือ


ปัญญาแห่งชาติ


เมื่อได้ทรงแสดงออกมาแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของเรา
ที่จะรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม เอามาใช้ให้เป็นประโยชน์
แก่ตัวเราทุกคนและแก่บ้านเมืองของเรา..."


ความเป็นคึกฤทธิ์

เกร็ดชีวิต คึกฤทธิ์ ปราโมช สยามรัฐ ฉบับพิเศษ
เนื่องในโอกาสครบรอบ ๘๑ ปี
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช พ.ศ. ๒๕๓๙

"สถาบันพระมหากษัตริย์ปัจจุบันมิใช่สถาบัน ที่อยู่เหนือเหตุผลหรือลึกลับอีกต่อไป แต่เป็นสถาบันที่มีเข้าใจได้ พิสูจน์ได้ เพราะเป็นสถาบันที่มีหน้าที่และการงานที่จะต้องทำ และเป็นสถาบันที่ทำงานหนักไม่น้อยกว่าใครในสังคมนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพราชภารกิจ โดยมิได้ว่างเว้นไม่มีวันหยุด ดังที่เคยมีพระราชดำรัสกับนักหนังสือพิมพ์ต่างประเทศว่า
"การเป็นพระเจ้าแผ่นดินต้องเป็นตลอด ๒๔ ชั่วโมง ไม่มีเวลาหยุดได้"


ความเป็นคึกฤทธิ์

บทความเรื่อง สังคมไทย ในหนังสือเรื่อง
ลักษณะไทย เล่ม ๑

ความเป็นคึกฤทธิ์

ไปรักษาคราวนี้ไม่เป็นไรหรอก
แล้วจะหายกลับมาทำงานให้บ้านเมืองต่อไปได้
คราวนี้ไม่ใช่เป็นการให้พร แต่ฉันสั่งให้กลับมาเพื่อบ้านเมือง"

ความเป็นคึกฤทธิ์

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เมื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลลาไปรักษาตัวที่สหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๓๑

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
และพระราชวงศ์ในหลายโอกาส เช่นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒
ขณะแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ได้เสด็จฯ โดยเฮลิคอปเตอร์
ไปทรงเยี่ยม ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ที่บ้านดอยขุนตาล
จังหวัดลำพูน
นอกจากนั้น
ยังได้พระราชทานดอกไม้
พระราชทานกำลังใจเมื่อ
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ต้องต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ
ทั้งได้เสด็จฯ ไปในการ
พระราชทานเพลิงศพ
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ในวาระสุดท้ายของชีวิต
ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ
ล้นพ้นหาที่สุดมิได้


ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

ค ว า ม เ ป็ น ไ ท ย ที่ ไ ม่ ค ว ร ลื ม

สิ่งที่ผม
อยากจะ

ชี้ให้เห็น

ก็คือว่า สิ่งที่เรา
ควรทำนั้น

เราควรยอมรับ

กันเสียทีว่า อะไรเป็นของ
ใครแน่สิ่งใดที่ว่าอะไรเป็นของ
ดีไม่ดีเราก็ต้องกำหนดเอาไว้แต่ในใจว่า
อย่างนี้เป็นของไทย ถ้าไม่ดีเราก็ไม่ใช้
ไม่เป็นปัญหา ถ้าดีเราก็เก็บเอาไว้

สิ่งใดที่เป็นของฝรั่งหรือต่างชาติต่างภาษา

เราก็ควรจะยอมรับเสียที

ให้เครดิตกับเจ้าของเขาบ้าง อย่าไปอ้างว่า
เป็นของเราเอาง่ายๆแล้วเมื่อยอมรับว่า

เป็นของฝรั่งแล้ว และเป็นของดี

เราก็มีสิทธิ์ที่จะใช้ ไม่มีใครห้ามปราม
เราได้ของอะไรไม่ดีเราก็โยนทิ้งไป

แต่เมื่อเราเอาของฝรั่งมาใช้
เราควรจะรู้ว่านั่นเป็น
ของฝรั่ง และเมื่อเรา
ยังรักษาของไทยไว้
เราก็ควรจะรู้ว่าสิ่งนี้เป็นของไทย

ทั้งสองฝ่ายเป็นสิ่งมีชีวิต

ไม่ใช่เป็นของเดิมหรือ
ของใหม่ ถ้าทำได้
อย่างนี้แล้ว เราก็จะรู้จักเลือกถูก

สิ่งที่เป็นของไทย

เราจะได้รักษาถูก และสิ่งที่เป็นของไทยเรา
เมื่อรู้ว่าเป็นของไทยแน่ชัดก็จะได้เป็น

เครื่องเตือนใจให้เรารู้ตัวเราเป็นคนไทย
และมีความเป็นตัวของตัวเองตลอดไป

ไม่กลายเป็นชาติอื่นภาษาอื่น




ความเป็นไทยที่ไม่ควรลืม
หนังสือ คึกฤทธิ์กับความเป็นไทย
สยามรัฐฉบับพิเศษ ครบรอบ ๘๓ ปี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์

"มหาวิทยาลัยเป็นเครื่องมืออนุรักษ์
ศิลปวิทยาการต่างๆ ของไทย"

"...เราก็มาพูดกันเรื่องวิชาอารยธรรมไทย วิชาของไทย อะไรอย่างนี้นะครับ ซึ่งก็ได้คิดกันว่าจะตั้งเป็นอะไรขึ้น เป็นสถาบันหรืออะไรขึ้น จะทำอะไรน่ะ ยังไม่ต้องพูดกันละ จะตั้งอะไรก็เป็นโครงการจะตั้งขึ้นก่อน มีเป้าหมายที่จะให้มีองค์กรสักอย่าง ซึ่งจะเป็นแหล่งขององค์วิชาไทย..."



ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
การสัมมนาเนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๘ ปี สถาบันไทยคดีศึกษา เรื่อง สถาบันไทยคดีศึกษากับสังคมไทย : จากอดีตสู่ปัจจุบัน
๓ มีนาคม ๒๕๓๒






ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ให้ความสำคัญแก่การถ่ายทอด ความรู้เรื่องความเป็นไทยในทุกด้านสู่เยาวชนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการอนุรักษ์ และสืบทอดเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยที่กำลังเลือนหาย ไปจากวิถีชีวิตและสังคมไทยในขณะนั้นขณะที่เป็นอาจารย์สอน หนังสือในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ได้สนับสนุน ให้มีการเปิดสอนวิชาพื้นฐานทั่วไปและนอกจากสอนด้วยตนเอง แล้วยังได้เชิญอาจารย์และผู้รู้ในสาขาต่างๆมาบรรยายความรู้ เรื่องสังคมไทยด้วยเช่นกันนอกจากนั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ยังมีส่วนสำคัญในการก่อตั้งสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อทำหน้าที่รวบรวม ศึกษา ค้นคว้า และเผยแพร่วิชาการเกี่ยวกับสังคมไทย เนื่องจากในขณะนั้นองค์ความรู้เรื่องไทยส่วนใหญ่เป็นการรวบรวมศึกษาค้นคว้าด้วยแนวคิดแบบตะวันตกเกือบ ทั้งสิ้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ได้รับหน้าที่เป็นประธานกรรมการ สถาบันไทยคดีศึกษาคนแรก




"ผมเขียนหนังสือผมไม่เคยสอนใคร ผมเขียนเอาสนุก เอาบันเทิง เขียนโกหกมั่งอะไรมั่งให้มันสนุกกัน อ่านเพลิดอ่านเพลิน
ผมถือว่านั่นแค่นั้นก็วรรณคดีแล้ว เป็นเครื่องชุบน้ำใจคนให้ร่าเริง ให้มีความคิด ให้ความคิดแล่นก้าวหน้าถมไปแล้ว ผมไม่เคยแฝงคติธรรม
ไม่เคยเขียนหนังสือสอนให้คนเป็นคอมมิวนิสต์..."


ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ปาฐกถาพิเศษเรื่อง วรรณคดีไทยกับสังคม
ณ พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม
๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๖

พ.ศ. ๒๔๒๘ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ
สาขาวรรณศิลป์ คนแรกของไทย ต่อมาเมื่อ
พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับรางวัล พระเกี้ยวทองคำ ในฐานะผู้ส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น


ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้สร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมที่มีคุณค่าเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีความหลากหลายทั้งรูปแบบและเนื้อหา
แสดงให้เห็นถึงความรอบรู้ในเรื่องราวต่างๆ ความสามารถในการใช้ภาษา และการสร้างสรรค์กลวิธีในการเขียนได้อย่างหลากหลาย ผลงานวรรณกรรมของ
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มีทั้งที่เป็นนวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี และบทความ ผลงานแต่ละเรื่องล้วนเป็นที่นิยมของผู้อ่านทุกยุคทุกสมัย เช่น
นวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สี่แผ่นดิน ซึ่งสะท้อนชีวิตชาววังในสมัยรัชกาลที่ ๕ ฮวนนั้ง นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ของราชสำนักโรมันเมื่อ ๑,๕๐๐
ปีก่อน ไผ่แดง นวนิยายที่บอกเล่าเรื่องราวของชุมชนในชนบท กาเหว่าที่บางเพลง นวนิยาย แนววิทยาศาสตร์ และ บ้านแขนขาด
ที่ได้รับยกย่องให้เป็นเรื่องสั้นเกียรติยศเรื่องหนึ่งในรอบ ๑๐๐ ปี ของนักเขียนเรื่องสั้นไทย นอกจากนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์
ยังเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านวรรณคดีไทยอย่างลึกซึ้ง โดยได้นำวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน มาวิเคราะห์ให้เห็นถึงวิถีชีวิตและสังคมไทยในอดีต


มอม

เบ้งเฮ็ก

หลายชีวิต

ฮวนนัง, สามนคร

ผู้ถูกกลืนทั้งเป็น

ลูกคุณหลวง

สัพเพเหระคดี, เก็บเล็กผสมน้อย

ชมสวน, ตลอดกาล

สามก๊กฉบับนายทุน

อโรคา, ข้อคิดเรื่อง

นิกายเชน วัยรุ่น

ซูสีไทยเฮา, ไผ่แดง

      ลมพัดชายเขา

สายน้ำไหล

เกิด แก่ เจ็บ ตาย, ฉากญี่ปุ่น      

  คนของโลก, น้ำพริก

ผลงานวรรณกรรม

ราโชมอน, คนรักหมา

 โครงกระดูกในตู้

ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

สยามเมืองยิ้ม

สงครามผิว, เรื่องขำขัน

     สี่แผ่นดิน

ถกเขมร, สงครามเย็น

พม่าเสียเมือง, ฝรั่งศักดินา

เสน่ห์พ่อแผน

ห้วงมหรรณพ, สรรพสัตว์

ธรรมคดี, กฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้

สยามรัฐ หน้า ๕

   คนหลายโศลก, เมืองมายา

   ยิว, เจ้าโลก

กาเหว่าที่บางเพลง

บันเทิงเริงรมย์, เพื่อนนอน

โจโฉ นายกฯ

ตลาดนัด

"โขนนั้นเป็นทั้งศิลปะและวัฒนธรรมของชาติที่จะหาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว
แต่โขนเป็นศิลปะที่ต้องอาศัยอยู่ในคนที่มีชีวิตจะเขียนไว้เป็นหนังสือหรือเอาไปแขวน
ไปตั้งที่ไหนไม่ได้ คนที่ต้องการจะรักษาศิลปะและวัฒนธรรมไทยที่เรียกว่า โขน นี้
จึงต้องลงทุนหัดโขน เพื่อเก็บโขนไว้ในตัว"



ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
คอลัมน์ ข้างสังเวียน นสพ.สยามรัฐ
๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๑

"โขนจะอยู่ได้ด้วยคนดู...

การจะให้นาฏศิลป์ไทยสืบเนื่องไปได้ผมเห็นว่าจะต้องสร้าง
ผู้ดูที่มีความรู้ความเข้าใจในนาฏศิลป์ไทย"

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านการแสดงนาฏศิลป์ไทย
โดยเฉพาะโขนได้มีโอกาสฝึกหัดตั้งแต่ยังเยาว์กับครูโขนในราชสำนักสมัยรัชกาลที่ ๖
ส่วนศิลปะการแสดงอื่นๆ นั้น ก็ได้เรียนรู้และร่วมแสดงกับพ่อครูแม่ครูที่มีชื่อเสียง เช่น
ขุนอุปถัมภ์นรากร หรือ โนราพุ่มทวา แม่ต่วน บุญล้น แม่เพลงฉ่อยชื่อดัง ฯลฯ

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
การสัมมนาและสาธิต นาฏศิลป์และดนตรีไทย
หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๕







พ.ศ. ๒๕๐๖ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ได้รับพระบรมมหากรุณาธิคุณอย่างสูงสุดในด้านนาฏศิลป์ไทย
จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ครอบครูพระพิราพแก่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ในพิธีไหว้ครูและครอบพระพิราพ
ณ พระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต


นอกจากนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ยังมีส่วนสำคัญในการอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทยด้วยการก่อตั้ง โขนธรรมศาสตร์ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ ด้วยความคิดที่ว่า "โขนจะอยู่ได้ด้วยคนดู" และต้องเป็นคนดูที่มีความรู้ความเข้าใจในศิปละการแสดงนั้นอย่างแท้จริง ซึ่งการที่จะทำให้ผู้มีความรู้ความเข้าใจได้ดีก็คือการฝึกหัดแสดงด้วยตนเอง นอกจากนั้น การฝึกหัดโขนยังทำให้เยาวชนได้เข้าใจขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของไทยได้ดีขึ้นอีกด้วย โขนธรรมศาสตร์ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้แสดงโขนสมโภชตอน พิเภกสวามิภักดิ์ ในพระราชพิธีสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เป็นผู้เขียนบทร้องและเลือกเพลงประกอบ โขนสมโภชในโอกาส สามรอบพระชันษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๔ และโขนสมโภชในโอกาสหกรอบพระชันษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒


นอกจากนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ยังมีส่วนสำคัญในการอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทยด้วยการก่อตั้ง โขนธรรมศาสตร์ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙
ด้วยความคิดที่ว่า "โขนจะอยู่ได้ด้วยคนดู"
และต้องเป็นคนดูที่มีความรู้ความเข้าใจในศิลปะการแสดงนั้นอย่างแท้จริง
ซึ่งการที่จะทำให้ผู้มีความรู้ความเข้าใจได้ดีก็คือการฝึกหัดแสดงด้วยตนเอง
นอกจากนั้น การฝึกหัดโขนยังทำให้เยาวชนได้เข้าใจขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของไทยได้ดีขึ้นอีกด้วย
โขนธรรมศาสตร์ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้แสดงโขนสมโภชตอน พิเภกสวามิภักดิ์
ในพระราชพิธีสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕
โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เป็นผู้เขียนบทร้องและเลือกเพลงประกอบ
โขนสมโภชในโอกาสสามรอบพระชันษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๔
และโขนสมโภชในโอกาสหกรอบพระชันษาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒










ทุกปี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ได้จัดให้มีพิธีไหว้ครูโขนละครและดนตรีไทยที่บ้านซอยสวนพลู
เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่นักแสดงและนักดนตรี
รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์พิธีไหว้ครูโขนลครและดนตรีไทย

ทุกปี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ได้จัดให้มีพิธีไหว้ครูโขนละครและดนตรีไทยที่บ้านซอยสวนพลู
เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่นักแสดงและนักดนตรี
รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์พิธีไหว้ครูโขนละครและดนตรีไทย








"...การที่จะให้คนไทยสนใจวัฒนธรรมของตนนั้น
เห็นจะต้องให้การศึกษาให้คนไทยทุกวันนี้มีรสนิยมสูงขึ้น
มีความเข้าใจซาบซึ้งในวัฒนธรรม ในศิลป์ของเรามากขึ้นกว่าแต่ก่อน...
ให้ดูวัฒนธรรมไทยด้วยความรู้จักในเรื่องดีเรื่องงาม
ไม่ใช่มองวัฒนธรรมไทยในทัศนะชาตินิยม...
คือไม่ใช่หลับหูหลับตาถ่ายทอดว่าอะไรเป็นของไทย แล้วต้องกัดฟันรักษาไว้ให้ได้..."

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ปาฐกถาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑





กระผมไม่
แน่ใจว่า ทุกครั้งที่มี

การแสดงดนตรีไทย

หรือมีนาฏศิลป์ไทยที่มีผู้มาฟัง
มาชมนั้นส่วนไหนของผู้ที่

มาฟังมาชม

เป็นผู้ที่ได้รับความชื่นชม
ทางใจ และส่วนไหน
เป็นผู้ที่มาฟัง
เพราะสักแต่ว่ามันเป็น

ดนตรีไทย

เป็นนาฏศิลป์ไทย

คือกระผมแยกไม่ออกในคนฟัง
และคนชมว่าที่มาฟังเพราะมี

appreciation

นั้นมีสักกี่คนและที่มีมาฟังเพราะมี
nationalism นั้นสักกี่คน เพราะ
ฉะนั้นปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่า ถ้าหาก

เราจะฟื้นฟูรักษา
ศิลปะทั้งสอง

อย่างนี้ไว้ด้วย
nationalism คือ

ความรักชาติ

อย่างเดียว เพราะความคิดที่ว่า
เมื่อเป็นของไทยต้องดีต้องวิเศษ ต้องรักษาไว้ละก็

ตามความเห็นส่วนตัว ผมเห็นว่าจะไปไม่รอด

แต่ถ้าเราจะฟื้นฟูหรือทำอย่างไร เพื่อจะรักษาไว้ด้วยความความรักความชื่นชมแล้ว
ผมว่าจะไปรอด เพราะว่าความรักความชื่นชม ความเข้าใจนั้นย่อมจะ
ทำให้เกิดมีชีวิตมีพลังขึ้นใหม่ มีความเคลื่อนไหวต่อไปได้



ดนตรีและนาฏศิลป์ไทย

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช การสัมนาและสาธิต นาฏศิลป์และดนตรีไทย
วันศุกร์ที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดนตรีและนาฏศิลป์ไทย

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช การสัมนาและสาธิต นาฏศิลป์และดนตรีไทย
วันศุกร์ที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


"ปัญหาสำคัญในการที่จะให้ นาฏศิลป์และดนตรีไทย
ยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ จึงอยู่ที่ตรงนี้ ปัญหานั้นคือ
ทำอย่างไรจะให้คนไทยยุคปัจจุบัน ชมนาฏศิลป์ได้ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน
และฟังดนตรีไทยโดยมีอารมณ์และมีความเข้าใจในดนตรีไทย"

"...การอนุรักษ์นาฏศิลป์และดนตรีไทยได้โปรดคำนึงถึงลักษณะสำคัญของศิลปะไทย
ทั้งสองชนิดนี้ไว้ด้วย คือมีความไหวตัว มีความเคลื่อนไหว
และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในตัวเองตลอดไป หากจะอนุรักษ์เราจะต้องอนุรักษ์ลักษณะสำคัญของศิลปะ ๒ ชนิดนั้นด้วย
คือ อนุรักษ์การเปลี่ยนแปลงในตัวของมันเอง มิฉะนั้นจะไม่น่าดู ไม่สวยงาม
เรียกได้ว่าหมด spirit ของดนตรีนาฏศิลป์..."

คุณานุคุณ
เนื่องในวันเกิด พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๗




หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชนั้น

เลื่องชื่อลือลั่น

เป็นปราชญ์แท้จริงยิ่งใหญ่

อันความควรภาคภูมิใจ

คือท่านเป็นไทย

ทั้งใจทั้งกายวาจา

อันความเป็นไทนั้นหนา

ค่าพ้นพรรณนา

คุณคึกฤทธิ์รู้รักษาเพียงชีวิต

ขออนุโมทนาอำนวยพร
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก