วันคึกฤทธิ์


รางวัลเกียรติยศ วันคึกฤทธิ์

โครงการอนุเคราะห์ศิลปินอาวุโส

สืบเนื่องจาก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ตั้งปณิธานที่จะช่วยเหลือศิลปินสูงอายุ ผู้ตกทุกข์ได้ยากให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อที่จะได้มีโอกาสถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ของตนสู่ชนรุ่นหลังต่อไป มูลนิธิฯ จึงสืบทอดเจตนารมย์ด้วยการตั้งโครงการอนุเคราะห์ศิลปินอาวุโสขึ้น ในพุทธศักราช 2537 เป็นต้นมา ศิลปินอาวุโสที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิฯ ตามโครงการอนุเคราะห์ศิลปินอาวุโสเดิม ที่มูลนิธิฯ สนับสนุนเงินเลี้ยงชีพเดือนละ 5,000 บาท ตลอดชีพนั้น มีรายนามดังต่อไปนี้

  1. นายกรี วระศริน (ครูโขนลิง) ถึงแก่กรรม

  2. นายทรวง ปรางโพธิ์อ่อน (ครูโขนยักษ์) ถึงแก่กรรม

  3. นายแจ้ง คล้ายสีทอง (ครูร้องเพลงไทย) ถึงแก่กรรม

  4. นางประชิต ขำประเสริฐ (ครูร้องเพลงไทย) ถึงแก่กรรม

  5. นางส่องชาติ ชื่นศิริ (ครูละครรำ) ถึงแก่กรรม

  6. นายเวนิช เชียรวงศ์ (ครูโขนยักษ์) ถึงแก่กรรม

  7. นายวรยศ ศุขสายชล (ครูดนตรีไทย)

โครงการศิลปินคึกฤทธิ์

พุทธศักราช 2552 โครงการอนุเคราะห์ศิลปินอาวุโสได้ปรับเปลี่ยนเป็น “รางวัลศิลปินคึกฤทธิ์” ศิลปินที่ได้รับคัดเลือกเป็นศิลปินคึกฤทธิ์แต่ละปี จะได้รับเงินรางวัล จำนวน 20,000 บาท พร้อมเข็มกลัดเชิดชูเกียรติ รูปลายเซ็น หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ใน ”วันคึกฤทธิ์” ของทุกปี

พิธีมอบรางวัลศิลปินคึกฤทธิ์ จัดขึ้นในวันที่ 20 เมษายน ของทุกปี

มูลนิธิคึกฤทธิ์ ๘๐ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้จัดทำโครงการ “ศิลปินคึกฤทธิ์” มาตั้งแต่พุทธศักราช 2553 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสรรหาและยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโสผู้มีผลงานโดดเด่น 4 สาขา คือ นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ คีตศิลป์ และศิลปะการแสดงแขนงอื่น ๆ ที่ทรงคุณค่า รวมทั้งเคยร่วมงานสร้างสรรค์กับ ศาสตราจารย์ พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และ/หรือ มีผลงานการสืบสร้างศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิม ตามแนวนิยมของศาสตราจารย์ พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มาอย่างต่อเนื่องเป็นที่ประจักษ์

การสรรหาศิลปินเพื่อที่จะนำมาคัดเลือกเป็น “ศิลปินคึกฤทธิ์” นั้น เสนอโดยคณะอนุกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ โดยนำเสนอทั้งประวัติและผลงานเข้าที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิฯ พิจารณาตัดสิน

มติในที่ประชุมสามัญประจำพุทธศักราช 2553 ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบในการคัดเลือก

โครงการรางวัลคึกฤทธิ์

ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิคึกฤทธิ์ ๘๐ ฯ ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2558 คณะกรรมการได้พิจารณาเปลี่ยนชื่อรางวัลจาก “รางวัลศิลปินคึกฤทธิ์” เป็น “รางวัลคึกฤทธิ์” เพื่อให้รางวัลสามารถครอบคลุมถึงกลุ่มที่ไม่ใช่ “ศิลปิน” ด้วย และมีมติให้เพิ่มรางวัล “สาขาวรรณศิลป์” ขึ้นอีกสาขาหนึ่ง เพราะเป็นแนวทางที่หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช มีความเชี่ยวชาญ และมีชื่อเสียงโดดเด่นจึงสมควรเชิดชูเกียรติผู้มีความรู้ความสามารถในด้านนี้ด้วย พร้อมกันนี้คณะกรรมการได้พิจารณาปรับปรุงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ “รางวัลคึกฤทธิ์” ประจำพุทธศักราช 2559 มีข้อสรุปดังนี้

1. 2559 ชื่อ “รางวัลศิลปินคึกฤทธิ์” เปลี่ยนเป็น “รางวัลคึกฤทธิ์”
2. รางวัลคึกฤทธิ์ มี 5 สาขา ดังนี้

คุณสมบัติของผู้ที่สมควรแก่การยกย่องให้ได้รับรางวัลคึกฤทธิ์

เป็นศิลปิน หรือผู้มีผลงาน หรือนักวิชาการ หรือผู้มีความรู้ความชำนาญหรือประสบการณ์ ที่สร้างงานทรงคุณค่าน่าสนใจ เป็นที่ยอมรับในวงการนาฏศิลป์โขนละคร ดุริยางคศิลป์ คีตศิลป์ วรรณศิลป์ และศิลปะการแสดงซึ่งรวมถึงศิลปะพื้นบ้านด้วย ผลงานดังกล่าวสอดคล้อง พัฒนา หรือบูรณาการกับแนวทางการส่งเสริมรักษา หรือสืบทอดแนวคิดหรือแนวทางที่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชได้เคยคิด หรือกระทำไว้ให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางศิลปะและวัฒนธรรมของสังคมไทย