กิจกรรมและข่าว
กิจกรรมและข่าว
ปฏิทินกิจกรรม
ศูนย์ศิลปะการแสดง
ความเป็นมา
ปฏิทินกิจกรรม
หลักสูตร
ทำเนียบครู
อัลบั้ม
เกี่ยวกับสถาบัน
สถาบันคึกฤทธิ์
มูลนิธิคึกฤทธิ์ ๘๐ฯ
ผู้สนับสนุน
รู้จัก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์
ชีวประวัติ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ความเป็นคึกฤทธิ์
นักหนังสือพิมพ์และนักการเมืองชื่อ "คึกฤทธิ์"
"คึกฤทธิ์" บุคคลสำคัญของโลก
"คึกฤทธิ์" บุคคลสำคัญของโลก
ฉลอง 100 ปี ชาตกาล
คึกฤทธิ์กับบทบาทอื่นๆ
รางวัลเกียรติยศ
วันคึกฤทธิ์
รางวัลคึกฤทธิ์
โครงการอนุเคราะห์ศิลปิน
ติดต่อเรา
รางวัลเกียรติยศ
โครงการอนุเคราะห์ศิลปิน
ศิลปิน
วรยศ ศุขสายชล (2488 - )
ครูดนตรีไทย
ศิลปินในความอนุเคราะห์
รางวัล
2509 :
เข้าร่วมการประกวดเดี่ยวซอด้วงและขลุ่ยเพียงออ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม ได้รับรางวัลชนะเลิศซอด้วง และรางวัลรองชนะเลิศขลุ่ยเพียงออ
2530 :
ก่อตั้งคณะ "วัยหวาน" เข้าร่วมการประกวดวงเครื่องสายไทย ระดับประชาชน ในรายการประกวดเฉลิมพระเกียรติพระบาทเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ จัดโดย กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับธนาคารกรุงไทย จำกัด ได้รับรางวัลชนะเลิศ รับพระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2541 :
ได้รับโล่เกียรติคุณ ในฐานะผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัยบูรพา
2546 :
ได้รับเกียรติเป็นศิลปินอาวุโสคึกฤทธิ์ จากมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
การศึกษา
โรงเรียนวัดบางเสาธง
โรงเรียนวัดปราสาท
ระดับอุดมศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ผลงาน
พ.ศ. 2527 "การบรรเลงบทเพลงเชิดชูนักแต่งเพลงไทย ครั้งที่ 2" จัดโดยสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย ได้รับเชิญให้นำเพลงตะเลงรัญจวน เถา เข้าร่วมบรรเลง ณ โรงละครแห่งชาติ
พ.ศ. 2535 "เสียงทิพย์จากสายซอ" ในวาระครบ 100 ปีเกิด หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) ได้รับเชิญเดี่ยวซอด้วง เพลงกราวใน ณ โรงละครแห่งชาติ
พ.ศ. 2560 เป็น 1 ใน 9 ครู "อัญมณีดนตรีไทย" ที่ได้รับคัดเลือกจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรมให้ร่วมบรรเลงเพลงไทย "ร้อยใจดนตรีไทย น้อมรำลึกองค์อัครศิลปิน" จัดขึ้นเพื่อน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2541 งานค้นคว้าที่สำคัญคือ ทฤษฎีเสียง ตั้งชื่อทฤษฎีว่า "วรยศ" ตามชื่อผู้ค้นคว้า หรือเรียกกันทั่วไปว่าทฤษฎี "17 เสียง" แล้วเรียบเรียงเป็นหนังสือชื่อว่า "ทฤษฎีเสียงดนตรีไทย" ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2541
ผลงานการประพันธ์เพลงที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เช่น ตะเลงรัญจวน, เถา, อาลีบาบา, แขกโอด, เดี่ยวซอด้วง, กราวใน, เดี่ยวซอด้วง นกขมิ้น
พ.ศ. 2531 "มหกรรมเดี่ยวเพลงไทยชัยมงคล" จัดโดยมหาวิทยาลัยมหิดล กรมศิลปากร และสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย ได้รับเชิญเดี่ยวซอด้วง เพลงกราวใน แสดงเฉพาะพระพักตร์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรงละครแห่งชาติ